วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คำสรรพนาม


คำสรรพนาม


คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนคำนามที่ผู้พูดหรือผู้เขียนได้กล่าวแล้ว หรือเป็นที่เข้าใจกันระหว่างผู้ฟังกับผู้พูด เพื่อไม่ต้องกล่าวคำนานซ้ำ คำสรรพนามแบ่งออกเป็น ๖ ชนิด คือ


๑. บุรุษสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนชื่อผู้พูด ผู้ที่พูดด้วย และผู้ที่พูดถึง แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ
๑. บุรุษที่ ๑ ใช้แทนชื่อผู้พูดได้แก่คำว่าฉัน   ผม   ข้าพเจ้า   อิฉัน    อาตมภาพ
๒.บุรุษที่ ๒ใช้แทนชื่อผู้พูดด้วยได้แก่คำว่าคุณ   ท่าน   เธอ   ใต้เท้า   ผ่าพระบาท
๓.บุรุษที่ ๓ใช้แทนชื่อผู้ที่พูดถึงได้แก่คำว่าเขา   มัน   ใคร   อะไร   ผู้ใด

ข้อสังเกต

คำบุรุษสรรพนามจะเป็นบุรุษที่หนึ่ง ที่สอง หรือที่สามนั้น ให้ถือหน้าที่คำเป็นสำคัญ เพราะบางคำอาจเป็นไต้หลายชุรุษ สุดแต่ว่าทำหน้าที่เป็นผู้พูด ผู้พูดด้วย หรือผู้ที่พูดถึง เช่น คำ ท่าน ในประโยคต่อไปนี้

ก. นายแดงได้พูดกับประชาชนที่มาฟังปาฐกถาว่า ท่านที่เคารพ
ข. นางอารีได้สั่งนายสมว่า ช่วยเรียนผู้อำนวยการด้วยดิฉันคิดถึงท่าน

คำ ท่าน ในประโยค ก เป็นบุรุษที่ ๒ แต่คำว่า ท่าน ในดระโยค ข เป็นบุรุษที่ ๓ อนึ่งในภาษาไทยอาจใช้คำนามในการสนทนา หรือการเขียนข้อความให้เกิดความหมาย เช่น บุรุษที ๑ หรือบุรุษที้ ๒ หรือบุรุษที่ ๓  ได้ดังนี้

ผู้เขียน
ขอเรียนให้ผู้อ่านทราบว่า หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนได้ใช้เวลาค้นค้วาประมาณ ๑ ปี
ผู้เขียนเป็นคำนามบุรุษที่ ๑
ผู้อ่านเป็นคำนามบุรุษที่ ๒
หนังสือเป็นคำนามบุรุษที่ ๓



๒. ประพันธสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนนาม หรือแทนสรรพนามที่อยู่ติดต่อกันข้างหน้า ทำหน้าที่เชื่อมประโยค ได้แก่ ผู้  ที่  ซึ่ง  อัน  เช่น

นักเรียนผู้ประสงค์จะชมการแสดงเช้าไปได้
คนที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีควรมีวิสัยทัศน์
ฉันชอบบ้านที่มีบริเวณกว้าง
ของซึ่งวางอยู่ในห้องหายเสียแล้ว
เขาได้ไห้โอวาทอันน้าสนใจแก่ฉัน


๓. วิภาคสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทน หรือสรรพนามที่กล่าวโดยชี้ศ้ำอีกครั้งหนึ่ง อาจแสดงความหมายรวม หรือแสดงความหมายแยก ได้แก่ ต่าง  บ้าง  กัน  เช่น
พนักงานต่างก็ทำหน้าที่ของตน
(ความหมายแยก)
เด็กๆ บ้างก็เล่นบ้างก็กินขนม
(ความหมายแยก)
พี่น้องตีกัน
(ความหมายรวม)



๔. นิยมสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้ชี้ระยะที่กำหนดให้รู้ว่า ใกล้  ไกล  ของนามที่ผู้พูดกับผู้ฟังสามสรถเข้าใจได้ตรงกัน ได้แก่ คำว่า   นี่   นั่น   โน่น  นี้  นั้น  โน้น  เช่น

นี่คือรถยนต์ของฉัน
นั่นเป็นมติของกรรมการ
โน้นคือพระปรางค์สามยอด


๕.
ปฤจฉาสรรพนาม คือ คำสรรพนามที่มีความหมายเป็นคำถาม ได้แก่คำว่า  ใคร   อะไร   ผู้ใด  สิ่งใด  อันไหม  เช่น

ใครใช้ให้คุณมา
อะไรอยู่ในลิ้นชัก
เธอต้องการสิ่งใด
ไหนคือบ้านของท่าน


๖. อนิยมสรรพนาม คือ คำสรรพนามบอกความไม่เจาะจง ใช้แทนนาม ซึ่งไม่กำหนดแน่นอนลงไปว่าเป็นวิ่งนี้น  สิ่งนี้  ได้แก่คำว่า   ใคร  อะไร  ผู้ใด   สิ่งใด   เช่น

ใครจะไปกับฉันก็ได้
อะไรฉันก็ไม่รู้สักอย่าง
ไหนๆ ฉันก็อยู่ได้
สิ่งใดก็ไม่สำคัญ


๗. สรรพนามใช้เน้นนามตามความรู้สึกของผู้พูด เช่น

ยายมีแกช่างคุย
แมวมันชอบกัดหนู
สมภารท่านจำวัด
สุดาเธอชอบร้องเพลง

คำมูล คำประสม

คำมูล คำประสม

            คำมูล คือ คำพื้นฐานที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง กล่าวคือ เป็นคำที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะอาจเป็นคำไทยดั้งเดิมหรือเป็นคำที่มาจากภาษาอื่น ก็ได้ และจะเป็คำ ” พยางค์ ” เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้ “พยางค์” คือ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่งๆ ซึ่งจะมีความหมายหรือไม่ก็ได้ วิธีนับว่ามีกี่พยางค์นั้นโดยเมื่อเราอ่านออกเสียง 1 ครั้ง ถือว่าเป็น 1 พยางค์ ถ้าออกเสียง 2 ครั้งถือว่าเป็น 2 พยางค์
เช่น  สิงโต (สิง-โต) มี 2 พยางค์
จักรวาล (จัก-กระ-วาน) มี 3 พยางค์
มหาวิทยาลัย (มะ-หา-วิด-ทะ-ยา-ลัย) มี 6 พยางค์ เป็นต้น

คำมูลแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1.คำมูลพยางค์เดียว เช่น เพลง,ชาม,พ่อ,ยืน,หิว,ยิ้ม,สุข,ใน ( คำไทยแท้ ) ฟรี,ไมถ์,ธรรม ( คำที่มาจากภาษาอื่น )
ตัวอย่างของคำมูล
ภาษาไทย – พ่อ แม่ หมู หมา แมว น้อง
ภาษาจีน – เกี๊ยะ เกี๊ยว เจี๊ยะ แป๊ะ ซิ้ม
ภาษาอังกฤษ – ไมล์ เมตร ปอนด์ ฟุต

2. คำมูลหลายพยางค์ เป็นคำหลายพยางค์ เมื่อแยกแต่ละพยางค์แล้ว อาจมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้ แต่ความหมายของแต่ละพยางค์ไม่เกี่ยวข้องกับความหมายของคำมูลนั้นเลย เช่น กระดาษ ศิลปะ กำมะลอ หรือกล่าวได้ว่า คำมูล คือคำที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
2.1 ประกอบด้วยพยางค์ที่ไม่มีความหมาย เช่น จิ้งหรีด จะเห็นว่าพยางค์ ” จิ้ง ” และ ” หรีด ” ต่างก็ไม่มีความหมาย
2.2 ประกอบด้วยพยางค์ที่มีความหมายเพียงบางพยางค์ เช่น กิริยา จะเห็นว่าพยางค์ ” ยา ” มีความหมายเพียงพยางค์เดียว
2.3 ประกอบด้วยพยางค์ที่มีความหมาย แต่ความหมายของคำนั้นไม่มีเค้าความหมายของแต่ละพยางค์เหลืออยู่เลย เช่น

นอกจากนี้ คำมูลคำเดียวในภาษาไทยอาจมีความหมายได้หลายอย่าง เช่นตัวอย่างที่ 1 นกเกาะอยู่บนกิ่งไม้ในเกาะแห่งหนึ่ง

ข้อสังเกตคำมูล
คำมูลหลายพยางค์ ควรดูว่าในคำหลายพยางค์นั้นมีความหมายทุกพยางค์หรือไม่ ถ้ามีความหมายบ้างไม่มีความหมายบ้างเป็นคำมูลหลายพยางค์ เช่น
มะละกอ = คำมูล 3 พยางค์         นาฬิกา = คำมูล 3 พยางค์
มะ = ไม่มีความหมาย          นา = มีความหมาย
ละ = ไม่มีความหมาย          ฬิ = ไม่มีความหมาย
กอ = มีความหมาย          กา = มีความหมาย

คำประสม
คำประสม คือคำที่เกิดจากการประกอบคำมูลที่มีความหมายต่างกันตั้งแต่สองคำขึ้นไป และมีความหมายใหม่ซึ่งใกล้เคียงกับความหมายของคำมูลเดิม หรือมีความหมายเป็นเชิงอุปมาหรือโดยนัย แต่ยังมีเค้าความหมายของคำมูลเดิม เช่น พัดลม เตารีด ไฟฟ้า ตู้เย็น ลูกคิด ตากล้อง ผู้แทน เรือบิน รถราง น้ำอัดลม ฯลฯ
การสร้างคำประสม มีความมุ่งหมายเพื่อให้เกิดคำใหม่เพิ่มขึ้น เป็นคำที่มีความหมายเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง มีรูปคำพอที่เข้าใจความหมายกันได้ทั่วไป คำมูล ที่นำมาประสมกันอาจเป็น นาม สรรพนาม กริยา วิเศษณ์ และ บุพบท ก็ได้เช่น

นาม กับ น   หัวใจ รถไฟ หมูป่า
กริยา กับ กริยา   ต้มยำ ขายฝาก กันสาด
วิเศษณ์ กับ นาม   หลายใจ สองหัว
บุพบท กับ นาม   นอกคอก ใต้เท้า

คำมูลที่นำมาประสมกัน อาจเป็นคำที่มาจากภาษาใดก็ได้ อาจเป็นคำไทยกับคำไทย คำไทยกับคำที่มาจากภาษาอื่น หรือเป็นคำที่มาจากภาษาอื่นทั้งหมด เช่น
คำไทย กับ คำไทย ทางด่วน ผ้ากันเปื้อน เรือหางยาว
คำไทยกับคำที่มาจากภาษาอื่น ผงชูรส ผ้าอนามัย การทางพิเศษ

คำประสมที่เกิดความหมายใหม่ขึ้นจะมีความสัมพันธ์กับความหมายเดิมในลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ความหมายของคำประสมมีเค้าความหมายเดิมของคำมูลมารวมกันโดยตรง เช่น รองเท้า ไม้แขวนเสื้อ ไม้กวาด
2. ความหมายของคำประสมในทำนองเปรียบเทียบ เช่น หางเสือ ลูกเสือ หัวแข็ง ปากแข็ง ปากกา และบางคำเป็นสำนวน เช่น ยกเมฆ ชักดาบ โคมลอย น้ำพักน้ำแรง ล่มหัวจมท้าย ฯลฯ
3. คำประสมที่เกิดจากนำคำมูลที่มีความหมายใกล้เคียงกัน หรือความหมาย คล้ายกันมาซ้อนกันเป็นคำขึ้นเช่น ว่องไว ว่ากล่าว เหลียวแล ช้านาน ถ้อยคำ วิ่งเต้น รูปภาพ เรือนหอ ฯลฯ
4. นำคำมูลที่มีความหมายกว้าง ๆ มาประสมกับคำมูลคำอื่น ๆ ทำให้เกิดความหมายเฉพาะขึ้น เช่น

ชาว (ย่อมาจากผู้ที่อยู่) เช่น ชาวบ้าน ชาวเขา ชาวเกาะ
นัก (ย่อมาจากผู้ที่กระทำ) เช่น นักเรียน นักร้อง นักดนตรี
เครื่อง (ย่อมาจากสิ่งที่ประกอบกันหรือของที่เข้าสำรับกัน) เช่น เครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกีฬา เครื่องเขียน
ช่าง (ย่อมาจากผู้ที่ชำนาญ) เช่น ช่างกล ช่างยนต์ ช่างเครื่อง
ที่ (ย่อมาจากตำแหน่งหรือถิ่น) เช่น ที่นอน ที่อยู่ ผู้ เช่น ผู้หญิง ผู้ใหญ่ ผู้น้อย

ข้อสังเกตคำประสม
1. คำประสมจะเป็นวิทยาการสมัยใหม่ เช่น เตารีด หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ พัดลม ตู้เย็น เครื่องอบผ้า เครื่องซักผ้า เครื่องดูดฝุ่น ฯลฯ
2. คำประสมเป็นคำเดียวกันจะแยกออกจากกันไม่ได้ ความหายจะไม่เหมือนเดิม เช่น นางแบบ รับรอง มนุษย์กบ คำประสมจะเป็นคำใหม่เกิดขึ้น
3.วิธีสังเกตค่ำประสมนักจะมีลักษณะนามให้เห็นอย่างเด่นชัด เช่น ใบนี้ คนนี้ ชุดนี้ ฯลฯ เช่น วันนี้ไม่มีคนใช้คนนี้เลย (คำประสม)
4.คำประสมที่ขึ้นตนด้วยคำว่า “ลูก แม่” ต้องหมายถึงคนจึงจะเป็นคำประสม เช่น ลูกเสือ (คน) แม่มด (คน) ถ้าเป็นลูกของเสือ แม่ของมด จะเป็นคำเรียงกันธรรมดา ยกเว้นลูกน้ำเป็นคำประสม เพราะมีความหมายเปลี่ยนไป ไม่ใช่ลูกของน้ำ แต่เป็นลูกของยุง เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สุภาษิต คำพังเพย และสำนวณ

สุภาษิต คำพังเพย และสำนวณ


สุภาษิต คำพังเพยและสำนวนไทย
        สุภาษิต คือ คำพูดที่ถือเป็นคติ มีความลึกซึ้ง ใช้สั่งสอน ถือเป็นการวางแนวและแสดงค่านิยมของมนุษย์มาแต่โบราณกาล เช่น สุภาษิตสอนหญิง สุภาษิตพระร่วง ก็มีข้อความสั่งสอนที่แสดงค่านิยมของสมัยนั้น ๆ ไว้อย่างชัดเจน ตลอดจนพุทธภาษิตคำสั่งสอนตามแนวทางพระพุทธศาสนา
 
        คำ พังเพย คือ เป็นคำเปรียบเทียบเรื่องต่าง ๆ เพื่อใช้ติชม ซึ่งสะท้อนถึงความคิด ความเชื่อถือ และค่านิยม อันเป็นลักษณะของคนไทย เช่น ค่านิยมในการยกย่องผู้มีอาวุโส เคารพครูบาอาจารย์ และนิยมความสุภาพอ่อนโยน

         สำนวน คือ ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นโดยมีความหมายพิเศษ ไม่ตรงกับความหมายที่ใช้ตามปกติ ทั้งนี้อาจจะเป็นคำที่มีความหมายโดยนัย หรือความหมายในเชิงเปรียบเทียบ เป็นลักษณะคำพูดที่รวมใจความยาว ๆ ให้กะทัดรัด บางสำนวนอาจหมายถึงสุภาษิตและคำพังเพยด้วย

รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี  : รักสิ่งใดก็ต้องระวังสิ่งนั้นให้ดี อย่าปล่อยตามใจ มิฉะนั้นจะต้องเสียใจภายหลัง
ปิดทองหลังพระ  :  ทำความดีแต่ไม่ได้รับการยกย่อง เพราะไม่มีใครเห็นคุณค่า
น้ำ ร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย  : คำพูดที่ตรงไปตรงมาแบบขวานผ่าซาก อาจจะไม่ถูกใจผู้ฟัง แต่ไม่เป็นพิษเป็นภัย ส่วนคำพูดที่ไพเราะอ่อนหวานซึ่งถูกใจผู้ฟัง แต่อาจเป็นภัยได้
เหยียบเรือสองแคม : ทำทีเข้าด้วยทั้งสองฝ่าย
สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ   :  สอนสิ่งที่เขารู้ดีอยู่แล้ว
เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง  :  ทำเลียนแบบคนใหญ่โตหรือคนมั่งมี ทัง ๆ ที่ตนไม่มีกำลังทรัพย์ หรือความสามารถพอ
นกน้อยทำรังแต่พอตัว : บุคคลที่กระทำการพอสมควรแก่ฐานะ หรือว่าความสามารถของตน
ขวานผ่าซาก : พูดจาโผงผางไม่เกรงใจใคร
จับปลาสองมือ : การทำอะไรมุ่งหวังจะให้ได้ประโยชน์สองอย่างในเวลาเดียวกัน จะบรรลุผลสำเร็จได้ยาก
ล้วงคองูเห่า : บังอาจลักขโมยหรือล่อลวงเอาทรัพย์สิน เป็นต้น จากผู้ที่น่าเกรงขาม
สีซอให้ควายฟัง : แนะนำคนโง่ ซึ่งไม่มีประโยชน์
งมเข็มในมหาสมุทร : ค้นหาสิ่งที่ยากจะค้นได้ ทำกิจที่สำเร็จได้ยาก
ดิน พองหางหมู : การปลอยงานให้คั่งค้างอยู่เรื่อย ๆ เพราะมัวแต่ผลัดวันประกันพรุ่ง ในไม่ช้างานที่คั่งค้างนั้นจะพูกพูนมากขึ้นทุกทีจนเป็นปัญหา
ลูกไก่ในกำมือ : ผู้ที่ตกอยู่ในอำนาจ หรือผู้ที่ไม่มีทางสู้
จับได้คาหนังคาเขา : จับได้ในขณะที่ลงมือปฏิบัติ
สาวไส้ให้กากิน : การประจานสิ่งที่ไม่ดีงามของตนและพวกให้เป็นที่รู้กันทั่วไป
วัว แก่เคี้ยวหญ้าอ่อน : ชายแก่ที่มีภรรยาสาวคราวลูกหลาน มักจะใช้เป็นคำเปรียบเปรยเมื่อเห็นคนที่มีอายุมากไปจีบเด็กรุ่นหลาน หวังจะได้มาเป็นภรรยา
เล่นกับหมาหมาเลียปาก : ผู้ใหญ่วางตนไม่เหมาะสม ทำให้ผู้น้อยไม่เกรงใจ
ปากปราศรัยน้ำใจเชือดคอ : พูดดีด้วย แต่ใจนั้นคิดอาฆาตพยาบาทอยู่ร่ำไป
เสี้ยมควายเขาให้ชนกัน : ยุยงให้ทะเลาะกัน
ตัดหางปล่อยวัด : ตัดขาดไม่เกี่ยวข้อง ไม่เอาธุระ
ชี ปล่อยปลาแห้ง : การกระทำที่ออกหน้าออกตาว่าเป็นคนใจบุญ มีความเมตตา กรุณา แต่ไม่มีความจริงใจ เหมือนการนำปลาที่ตายแล้ว หรือปลาตากแห้งไปปล่อยน้ำ
ไหกระเทียมต่อขา : คนที่มีรูปร่างอ้วนมาก ดูแล้วตัวกลมเหมือนไหกระเทียม
หน้าเนื้อใจเสือ : มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ใจดุร้าย
หมาเห่าใบตองแห้ง : คนที่เก่งแต่พูด
คางคกขึ้นวอ : คนที่มีฐานะต่ำต้อย พอได้ดิบได้ดีแล้วมักแสดงกิริยาอวดดี ลืมตัว
ทำนาบนหลังคน : หาผลประโยชน์ให้ตนโดยการขูดรีดผู้อื่น
ปั้นน้ำเป็นตัว : การกุเรื่องขึ้นทั้งหมดโดยไม่มีมูลความจริงแม้แต่น้อย
น้ำกลิ้งบนใบบอน : เป็นคนกลับกลอกหลอกลวง ไม่แน่นอน
มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก : พูดจาตลบตะแลงพลิกแพลงไปมาจนจับคำพูดไม่ทัน คนกลับกลอก
ชักแม่น้ำทั้งห้า : พูดจาหว่านล้อมยกยอบุญคุณเพื่อขอสิ่งของที่ประสงค์
อย่าเล่นกับไฟ : อย่าเล่นกับของร้อน หรือสิ่งที่ทำให้ร้อน อาจเกิดอันตรายได้
ทุบหม้อข้าวตัวเอง : ทำลายผลประโยชน์ที่ตัวเองจะได้รับ
เด็ดดอกฟ้า : ผู้ชายที่ได้แต่งงานกับผู้หญิงที่มีความรู้ดี มีฐานะดีกว่าตนเองมาก
น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา : ทีใครทีมัน
กว่าถั่วจะสุกงาก้อไหม้ : การทำอะไรที่ช้าเกินไป กว่าจะสำเร็จได้ก็ทำให้งานส่วนหนึ่งเกิดความเสียหายขึ้น
วัดรอยเท้า : ผู้น้อยที่พยายามทำตัวให้เสมอผู้ใหญ่
สร้างวิมานในอากาศ : ใฝ่ฝันถึงความมั่งมี คาดหวังจะมีหรือจะเป็นอะไรอย่างเลิศลอย
วัวสันหลังหวะ : ผู้มีความผิดติดตัว คอยหวาดระแวงอยู่ตลอดเวลา
อยู่ บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น : อยู่บ้านผู้อื่นไม่ควรทำตัวเป็นคนอยู่เฉย ต้องช่วยเหลืองานในบ้านเท่าที่จะทำได้ เป็นการแบ่งเบาภาระของเจ้าของบ้าน



วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คำบุพบท

คำบุพบท หน้าที่คืออะไร มาเรียนภาษาไทยกันดีกว่า



ภาษาไทย

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          การเรียนรู้หลักการและความสัมพันธ์ในการใช้คำบุพบท จะทำให้เราสามารถเรียบเรียงประโยคที่ใช้ในการสื่อสารได้อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งจะทำให้คนที่ฟังประโยคนั้น ๆ เข้าใจรูปประโยคได้ง่าย และสามารถนำไปตีความได้อย่างถ่องแท้ วันนี้ กระปุกดอทคอมจึงไม่พลาดที่จะหยิบเอาหลักการง่าย ๆ ในการใช้คำบุพบทมาฝากกัน

          ก่อนอื่นมารู้จักความหมายของคำบุพบทกันก่อน สำหรับ คำบุพบท ก็คือ คำที่ใช้นำหน้าคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ เพื่อบอกสถานภาพของคำเหล่านั้น หรือเพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำหรือประโยค ทีนี้ เราลองมาดูกันว่า คำบุพบทมีอะไรบ้าง แบ่งออกได้เป็นกี่ชนิด และสามารถวางในตำแหน่งใดได้บ้างค่ะ

           คำบุพบท มีอะไรบ้าง

          คำบุพบทที่ใช้กันในภาษาไทยมีมากมายหลายคำ แต่ที่ทุกคนน่าจะใช้กันบ่อย ๆ ก็อย่างเช่น กับ ใน ของ ด้วย โดย แก่ แต่ แด่ ต่อ ซึ่ง เฉพาะ ตาม กระทั่ง จน เมื่อ ณ ที่ ใต้ บน เหนือ ใกล้ ไกล ริม ข้าง ตั้งแต่ เกือบ กว่า ตลอด ราว จาก สัก และสำหรับ เป็นต้น ซึ่งคำเหล่านี้จะถูกนำมาใช้ในการนำหน้าคำนาม คำสรรพนาม หรือคำกริยา เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของคำ

          ประเภทของคำบุพบท

          คำบุพบทแต่ละคำย่อมมีหน้าที่ และความหมายที่แตกต่างกัน ดังนั้น การนำมาใช้ก็แตกต่างกันไปด้วย โดยตามหลักภาษาไทยแล้ว คำบุพบท แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามลักษณะการนำมาใช้ คือ คำบุพบทที่ต้องเชื่อมกับคำอื่น และคำบุพบทที่ไม่จำเป็นต้องเชื่อมกับคำอื่น เราลองไปดูตัวอย่าง และวิธีการใช้กัน


          1. คำบุพบทที่ต้องเชื่อมกับคำอื่น เพื่อบ่งบอกความสัมพันธ์ระหว่างคำ และบอกสถานการณ์ให้ชัดเจน ได้แก่

           บอกสถานภาพความเป็นเจ้าของ เช่น

           ฉันซื้อสวนของนางอุบล

           สระว่ายน้ำของเขาใหญ่โตแท้ ๆ

           อะไรของเธออยู่ในกระเป๋า

           รถของฉันอยู่ในบ้าน



          บอกความเกี่ยวข้อง เช่น

           เธอต้องการขนมในถุงนี้

          พี่เห็นแก่น้อง

          เธอไปกับฉัน

          เขาอยู่กับฉันที่บ้าน



          บอกการให้และบอกความประสงค์ เช่น

           ไข่เจียวจานนี้เป็นของสำหรับพระ 

          ครูให้รางวัลแก่เด็กนักเรียน

          แม่ให้ของที่ระลึกแก่โรงเรียน

          นักเรียนมอบของที่ระลึกแด่ครู



          บอกเวลา เช่น

          เธอมาตั้งแต่เช้า 

          ตลอดสายวันนี้

          ฝนตกตั้งแต่เช้ายันบ่าย

          เขาอยู่เมืองนอกเมื่อปีที่แล้ว



          บอกสถานที่ เช่น

          สมชายมาจากขอนแก่น

          เขาขับรถอยู่บนทางเท้า

          ใครอยู่ในห้องน้ำ

          ณ ที่แห่งนี้คือที่ไหน



          บอกความเปรียบเทียบ เช่น

           เขาหนักกว่าฉัน 

           เขาสูงกว่าพ่อ 

           เธอสูงแต่ฉันเตี้ย

           เขามีรถแต่ฉันไม่มี

           บ้านเธออยู่ใกล้แต่บ้านฉันอยู่ไกล

           เหนือฟ้ายังมีฟ้า



          2. คำบุพบทที่ไม่มีความสัมพันธ์กับคำอื่น ไม่จำเป็นต้องเชื่อมกับคำอื่น ส่วนมากจะอยู่ต้นประโยค เช่น

           ดูกร ดูก้อน ดูราช้าแต่ 

           ดูกร ท่านพราหมณ์ 

           ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย 

           ดูรา สหายเอ๋ย 

           ช้าแต่ ท่านทั้งหลาย           

          จะเห็นได้ว่าคำบุพบทประเภทนี้ มักไม่เป็นที่นิยมใช้กันเท่าไรนัก ส่วนมากจะเห็นในบทประพันธ์มากกว่า

          หน้าที่ของคำบุพบท

          นอกจากจะสามารถแบ่งคำบุพบทออกเป็น 2 ประเภทแล้ว เรายังสามารถแบ่งคำบุพบทได้ตามลักษณะหน้าที่ของคำนั้นที่่ใช้เชื่อมคำหรือประโยคด้วย ซึ่งเราแบ่งออกได้ 5 ประเภท คือ

           1. นำหน้าคำนาม เช่น

           ในตู้มีอะไร

           บนโต๊ะว่างเปล่า

           จนกระจกแตก

           เขาไปกับน้องสาว

          2. นำหน้าคำสรรพนาม เช่น

           รถของเธอ

           ปากกาของฉัน

           ไปกับฉันไหม

           หมาเดินตามคุณ

           ผึ้งอยู่ใกล้ผม

           เนื่องด้วยข้าพเจ้า

          3. นำหน้าคำกริยา เช่น

           ขอไปด้วยคน

           มาไกลไปไหม

           เดินบนทางเท้า

           ขอฟังต่ออีกสักหน่อย

           เขาพูดราว 1 ชั่วโมงแล้วนะ

           ผมใกล้อ่านหนังสือออกแล้ว

          4. นำหน้าคำวิเศษณ์ เช่น

           เขาต้องมาหาฉันโดยเร็ว

           เขาเลวสิ้นดี

           ปากกาของฉันสีม่วง

           ขนมอร่อยมากแต่หมดแล้ว

           ฉันมองไม่เห็นที่นั่น

           ฉันรักแม่เหนือสิ่งอื่นใด


          5. นำหน้าประโยค เช่น

           เมื่อไหร่เขาจะมาสักที

           กระทั่งน้องเลิกโรงเรียน

           ตั้งแต่เมื่อวานเขายังไม่กลับบ้านเลย

           ข้างบ้านไม่มีใครอยู่เลย

           เกือบเดือนแล้วที่ไม่ได้อาบน้ำ

           ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์

          ทั้งนี้ ยังมีข้อสังเกตเกี่ยวกับคำบุพบทว่า ในบางประโยคที่เราใช้พูดคุยกัน อาจละคำบุพบทนั้นไว้ แต่ยังมีความหมายตามเดิม และก็ยังเป็นที่เข้าใจกันอยู่ เช่น พี่ให้เงิน (แก่) น้อง, แม่ (ของ) ฉันเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ

          นอกจากนี้ บางครั้งคำบุพบทก็มีลักษณะคล้ายคำวิเศษณ์ แต่ต่างกันตรงที่คำบุพบทจะวางไว้หน้าคำ ส่วนคำวิเศษณ์จะทำหน้าที่ขยายอยู่หลังคำนั้น ดังนั้นแล้ว หากไม่มีคำนาม หรือสรรพนามตามหลัง คำนั้นจะเป็นคำวิเศษณ์ เช่น เธออยู่ใน พ่อยืนอยู่ริม, ฉันอยู่ใกล้แค่นี้เอง ฯลฯ

          เห็นไหมว่าการนำคำบุพบทมาใช้ในการเชื่อมรูปประโยคไม่ใช่เรื่องยากเลย ขอเพียงให้เราเข้าใจหลักการของการนำมาใช้ให้ถูกต้อง เพียงเท่านี้ก็จะทำให้การสื่อสารไปยังผู้รับสารประสบผลสำเร็จได้ อย่างสมบูรณ์แบบแล้วล่ะ